วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

อุปสรรคครั้งใหญ่

จิงจิงมันคงไม่มีอุปสรรคไหนใหญ่กว่าความขี้เกียจ ความเหนื่อย ความท้อของตัวเราเองอีกแล้ว

ไม่ใช่ว่าหมดไฟแต่อย่างไร แต่ทำไมพอเข้าเดือนนี้ก็เหมือนชีวิต ความคิดมันนิ่งๆไปก็ไม่รู้

ความขี้เกียจคงเป็นสิ่งที่สะสมนิสัยอย่างงี้มาตั้งแตเด็กๆว่าไม่ใกล้เวลาส่งงาน...ทำงานไม่เป็น หรือว่าง่ายๆ เน้นงานเผาอ่ะค่ะ >0< งานคืดนานๆ นั้งทำเน้นๆตลอดเวลาทำไม่เป็น ช่างเป็นนิสัยที่แย่จิงจังเลยนะเนี่ย

ความเหนื่อย ความท้อ ทำไมอยู่ๆช่วงนี้ก็มีเรื่องให้เหนื่อยจายมากมาย แถมพอเริ่มทำงานไปก็เริ่มไม่มั่นใจในตัวเอง ว่าเราจะเอาหัวข้อนี้อยู่จิงเหรอ ทั้งความท้อของงาน เรื่องติดต่อคนนู้นนี่ ติดต่อโรงพยาบาลหมอก็ไม่ว่าง พอจะทำเรื่องเข้าอีกโรงบาลดันต้องให้เราทำเป็นงานวิจัย กลายเป็นเรื่องใหญ่ไปเลย พอติดต่อนานๆงานมันก็ยังเดินไม่ได้ พอรวมกะความขี้เกียจที่มีอีก สรุปคือ มันไม่มีอารายคืบหน้าเล้ยยยยยย....อ้ากกกกกกกกกกก

จิงจิงก็อยากให้งานออกมาดีที่สุดนะ เพราะมันคงเป็นงานทีเราจะได้พิสูจน์ความคิดของตัวเองบางอย่างว่าเราไม่ได้คิดผิดไป หรือเพราะว่าเราอาจจะมองเป้าหมายที่สูงตลอดเวลา ( สูงแต่ไม่ต้องเลิศไม่มีที่ตินะ...อันนั้นยากไป๊ ) เพราะเวลาเราหวังอารายมันไม่เคยได้ตามหวัง มันมักจะตกลงมาเสมอไงอ่ะ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

1st sketch & present

เนื่องจากกว่าที่จะได้อาจารที่ปรึกษา ก็เหลืออีก 3 อาทิตพรีเซนทีสิสแล้ว ก็เลยต้องรีบๆทำ อย่างแรกที่เราต้องทำคือ อธิบาย 4 โรคประหลาดให้อาจารปุ๊กรู้เรื่อง :) แล้วรีบทำดัมมี่หนังสือซะ จะได้มีงานเป็นชิ้นเป็นอัน หลังจากนั้นก้ออกแบบบรรดารูปเล่มแต่ละบทว่าจะเป็นอย่างไร มาดูทีละขั้นตอนดีฝ่าาาา

ดัมมี่ : ตัวอย่างรายละเอียดว่าแต่ละหน้าเราจะใส่อารายบ้าง


ตัวอย่างในแต่ละโรค ว่าเป็นอย่างไรบ้าง อันนี้เป็นการจัดวางแค่หน้าเปิดหนังสือไม่ใช่หน้าทดสอบนะ


synesthesia : จะเน้นการใช้สี ในตัวอักษรบางตัวเด้งขึ้นมา
hemi-neglect : ตัดตัวอักษรไปครึ่งนึง จิงๆคนที่เป็นโรคนี้เค้าจะเห็นหายไปทั้งแถบเลย แต่เพื่อการ design มันไม่งามนะจ๊ะ
split brain : เนื่องจากโรคนี้เค้าอ่านแล้วแปลความหมายลำบากใช้มั๊ย เราเลยเอาไอคอนต่างๆมาเป็นตัวสื่อสารแทนดีกว่า จะได้แปลความหมายตรงกัน
category-specific agnosia : โรคนี้จะเอ๋อเรื่องหมวดหมู่ เพราะฉะนั้นเราก็เอาความเอ๋ออกมาโชว์กันตรงๆเลยดีกว่า
นอกจากนี้ยังมีบทที่ 3 จะเป็นการเอาชีวิตคนเป็นโรคเหล่านี้ว่าเค้าจะเป็นยังไงมาในรูปแบบไดอารี่ เช่นถ้าคนเป็นซินเนสทีเชียที่เห็นคนเป็นสี เวลาไปเดินตาดนัดคงมึนพิลึก :)

บางเรื่องมันอาจเป็นแค่การวิเคราะห์เบื้องต้นเท่านั้น เพราะเราเองก็ไม่ใช่หมอมันไม่สามารถวิเคราะห์ได้แม่นๆ ก็ต้องรอก่อนนะ ขอไปคุยกะหมอก่อน

ขอตัดชอตมาวันพรีเซนเลยละกัน

ตือวันพรีเซนเนี่ยนะคะคือเมื่อวันเสาร์เอง อิชั้นก็ตื่นแต่เช้า 6 โมงอ่ะ เพราะต้องมาลงไฟล์พรีเซนไว้ก่อน มาตั้งแต่ 8 โมง แต่ปัญหามันอยู่ว่าก่อนหน้านั้นวันพฤหัสนั้งแก้งานที่จะพรีเซนถึงตี 4 แล้วก็ตื่น 8 โมงมาทำต่อวันศุกร์ กะว่าบ่ายๆค่อยเข้า ม ไปส่งงาน เพราะยังไงส่ง 4 โมงเย็นทันแน่นอน อยู่ๆเพื่อนบอยก็โทรมาว่าเค้าให้ห้องเราส่งก่อนบ่าย 2 !!! lol เพราะอาจารจะไม่ว่าง แล้วตอนที่มันโทรมาคือ เที่ยงกว่า!! บ้านกรูอยู่พระราม3 นะเฟร้ยยยย...ก็เลยต้องบึ่งแทกซี่ไป พร้อมกับคอมเพื่อจะนั่งไร้ท์ cd ได้เลย โดนค่าโดยสารไป 300 กว่า สบาบใจกระเป๋าเบาไปเลย -*- สดท้ายมันฟังผิด เค้าให้ส่งตอนบ่าย 2 เวงงง

พอเช้าวันเสาร์ก็ศพสิค่ะ เดินไร้วิญญาณเลย นอนไม่พออ่ะ แถมพรีเซนคนเกือบสุดท้ายอ่ะ รอแล้วรอเล่าจนหาวแล้วหาวอีก พอถึงเวลาเข้าห้องก็เลยเอ๋อๆ พรีเซนผิดๆถูกๆ สไลด์ก็ยังไม่ได้ให้จารปุ๊กดุ กลัวแทบตายอีกเพราะได้ห้องโหดสุดอ่ะ เลยโดนมาซะชุดนึง อุตส่าห์ใจชื้นว่าพรีเซนเสร็จแล้วเงียบ ท่าทางจะงานดี ที่ไหนได้เค้าขอเวลาคิด -_-" ก็โดนว่าทำไมทำหนังสือทดสอบ แต่ไม่ทำแบบทดสอบมาก่อนละค่ะ....ก็หนูอยากได้ภาพรวมก่อนนิ แต่ก็เรียกว่าไม่ได้มากมาย เพราะคนอื่นหนักกว่าเยอะ พอจบงานจารปุ๊กรีบโทรมาถามว่าถิงเป็นไงบ้าง เรากลับคิดว่าจารปุ๊กแหละค่ะ ว่าหนูเป็นไงบ้าง เพราะกลัวเค้าเสียใจที่เราทำงานมาแค่เนี่่ยเองเหรอ หรือว่าเราดูเอ๋อมากในห้องก็ไม่รู้ เค้าอาจนึกว่าตายไปแล้ว:)

สรุปคือเดือนธันวาต้องรีบทำงาน โดยเฉพาะแบบทดสอบ ต้องทำให้ปิ๊ง ถูกจายย...กรรมการทู้กท่าน แล้วก็เล่มทั้งหมดอีก โดยเฉพาะบทที่ 3 ที่เรายังไม่คิดเลยว่าจะสื่อยังไง งานใหญ่เลย :)

thesis โรคประสาท....ประสาทไปเลย

ขออัพเดตขอ้มูลทีสิสบ้างละกันนะ อยากเก็บไว้เป็นอนุสรณ์การทำงานครั้งสำคัญในชีวิต เพราะถ้าไม่ดีก็คงไม่จบ เผื่ออนาคตมาอ่านจะได้รู้ว่าตอนนี้คิดอารายอยู่ เพราะเพิ่งเริ่มลงมือออกแบบมาได้แค่ 1 เดือนเริ่มคิดแล้ว ว่าตอนเสนอเรื่อง คิดอาร๊ายยยย.....ทำไมเรื่องมีเป็นล้านไม่ทำว่ะ

เริ่มเรื่อง
มันเริ่มมาจากว่าตอนนั้นเนี่ย เค้าเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่อาทิตมันก็ต้องเริ่มพรีเซนต์ทีสิสรอบแรกแล้ว เค้าให้เวลาคิดตั้งนานไม่คิดกัน...สันดานเสียมากมาย แล้วอยู่ๆฟ้าก็ส่ง aday ที่มีเรื่อง synesthesia ก็เลยเกิดไอเดียว่า เออถ้าทำหนังสือ หรือ โมชั่นเสนอมุมมองของคนเป็นโรคนี้อ่ะ คงดีนะ แต่พอไปเสนออาจารเค้าก็ว่ามันจีดไป เอาเป็นหนังสือทดสอบดีกว่า.......อืม เอาก็ได้ว่ะ

อุปสรรค
อุปสรรคแรกเลยคือ ข้อมูลค่ะ มันมีแต่ภาษาปะกิด เสียเวลานั้งแปลกอีกกรู
แถม พอเราติดต่อโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งประสาทมากมาย กว่าจะโทรไปจิกจิกจิก ให้รู้เรื่องว่าเมื่อไหร่เราจะได้คุยกับหมอ ก็เสียเวลาไปอีก 1 เดือน เพราะมันทำจดหายเราหาย....lol
แล้วพอได้คุยกะคุณหมอที่เคารพเค้าก็ busy มากมายอีก ไม่คุยกะช้านนนนนน.......
สุดท้ายก็มาลเอยที่ว่า ชั้นเปิดเนตหาข้อมูลเองก้ได้ย่ะ

หลังจากนั้นก็ต้องเขียนเล่มศิลปนิพนธ์ครึ่งแรกไปส่งด้วยข้อมูลที่หาเอาเอง กว่าจะวุ่นแก้นู้นนี่ เคาะมากไป เลขหน้าผิด เว้นกี่นิ้ว แก้แล้วแก้อีกปริ้นกระดาษจนจะหมดรีมแล้ว กว่าจะทำหมดก็เกือบเปิดเทอมใหม่ซะแล้วว...ก็เลยชิ่งหนีไปเที่ยวก่อนฝ่า :) 55555
( สามารถอ่านเรื่องราวได้ที่ ting's space​ )

กลับมาก็ได้เจออาจารที่ปรึกษา ซึ่งตนแรกเราไม่รู้จักเค้าอ่ะ เพราะเค้าสอนอีกห้องนึงที่ตารางเรียนมันไม่เคยตรงกะชาวบ้าน
และการตามล่าหาหนังสือโลกจิต ที่เดินซะทั่วมันไม่มีขายอ่ะ งานหนังสือก็ไม่ได้ไปเพราะดันไปยี่ปุ่ง แต่ขอขอบคุณจารรี่ที่ให้จารตุ๊กตาเอามาจาก abook ให้เลย ขอบคุณนะก๊าบ....
และสำคัญขอบคุณพี่แทนที่ทำเว็บโลกจิตเสร็จแล้ว เย้!!

เด๋วจะมาลง sketch ใหม่บล็อกหน้านะกั๊บ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

finish.....>_<

ในที่สุดก็หาคำที่มีจำนวนตัวอักษรเท่ากับจำนวนครั้งของการพับได้สำเร็จเรียบร้อย และออกมาเป็นงานจบจนได้ ถึงแม้วาบางตัวอาจจะเป็นการเอาตัวรอดเล็กน้อย :) แต่บางตัวมันก็ไม่ไหวจิงจัง เพราะคาดว่าตอนนี้พับกระดาษมาร่วมๆร้อยกว่าใบแล้ว ในอนาคตอาจจะรวมเล่มวิธีพับได้เลย สิ่งที่อยากที่สุดคือตอนหาคำศัพท์ให้มันพอดีกับจำนวนการพับนี่แหละ ( โดยเฉพาะตัว q หายากมาก....)
สไลด์รวบรวมกระดาษทั้งหมด



ขณะนี้ยังไม่มีรูปงานจบของจริง เพราะยังไม่ได้งานคืนจากอาจารย์นะค่ะ :)

เพิ่มเติม : ขอกรี๊ดหน่อย.....ใน pingmag อันล่าสุดเจอศิลปินทำงานจากโอริกามิ น่ารักมากมายทีเดียว ดูได้ที่pingmag

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Origami Alphabet

ตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่เกิดจากการพับ origami
มาจากเว็บ www.origamiclub.com/en

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเข้าเล่มงานโดยการพับโอริกามิ

จากงานที่ทำทั้งหมดจึงคิดว่า การเข้าเล่มงานจบนั้นควรออกมาในรูปแบบโอริกามิ จึงไปหาวิธีพับมา

งานที่ออกจะจึงเหมือนเป็น folder และยังหากาทำปกอีก เพราะจะได้เข้ากันให้หมดทั้งเล่ม



ที่มาทั้งหมดหาจาก
http://www.yasutomo.com/project/foldedbook.html

66 Hip Japan Design

งานออกแบบเท่ห์ๆ จากญี่ปุ่น น่ารักมากมาย อยากโกยกลับบ้านมากๆ






วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

แนะนำหนังสือพับกระดาษจากแบงค์

อันนี้เป็นเล่มที่ได้มาจากการหาข้อมูลทำธีสิส
ที่ตอนแรกเสนอเรื่อง การพับกระดาษไหว้เจ้าไปด้วย
เป็นญาติๆกับโอริกามิ เหมือนกัน:) เลยไปเดินดูหนังสือ
ที่สอนวิธีพับกระดาษที่ kinokuniya เลยเจอเล่มนี้เข้า
เป็นการสอนพับแบงค์ดอลล่าห์ เป็นรูปต่างๆ
น่ารักมาก แต่พับยากมากกกกกก


































เดียวจะเอาเรื่องกระดาษไหว้เจ้ามาลงบ้าง มันเป็นญาติๆกับ
origami แต่ใกล้ตัวเรากว่าเยอะเลย :)

Origami & Word : ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการทำงานนี้เริ่มต้นจากการหา origmi และคำ
ที่ จำนวนพับเท่า = จำนวนตัวอักษรของคำ
โดยทำออกมาทั้งหมด 26 คำ ไล่ไปตั้งแต่ a-z

ในการทำงานจะเริ่มจากการพับกระดาษแล้วขีดเส้นตามรอยพับ
เพื่อสร้างgrid ที่จะช่วยวางตัวอักษร ให้ง่ายขึ้น










































plane


หลังจากนั้นจึงวาดเส้นใหม่อีกครั้งใน illustrator ในอาทิตแรก
จะมีเพิ่งแค่ตัวอักษรแต่จะมีปัญหาในการบ่งชี้ว่าอักษรไหนมาก่อนหลัง
ทำให้ระบบการพับผิดไป จึงได้ลองใส่ ความเข้ม-อ่อนของตัวอักษร รวมทั้งขนาดที่ต่างกันของตัวอักษรมาใช้





















glass (ด้านซ้าย มีแต่ขนาดที่แตกต่าง ด้านขวา แตกต่างทั้งขนาด และ น้ำหนักสี )


นอกจากการใส่สิ่งที่บ่งชี้ลำดับของการสะกดคำ คือ น้ำหนักอักษร
และ น้ำหนักสี การพัฒนางานขั้นต่อมามีการใส่สิ่งที่บ่งชี้
ลำดับของการสะกดคำคือ เส้นและลูกศร





















glass ( finishing )

รวมทั้งยังใส่ลายกราฟฟิกเพื่อสร้างความน่าสนใจ และทำให้
งานออกมาชัดเจนขึ้น

Origami & Word

จาก system ที่เลือกทำงานคือ ระบบของการพับกระดาษเป็นรูปต่างๆ โดยมีแนวคิดที่ว่า การพับกระดาษนั้น เป็นระบบที่ไม่สามารถข้ามขั้นตอน
หรือผิดขั้นตอนการพับได้ จึงหาระบบที่มีแนวคิดเดียวกัน
มาใช้ในการทำงาน และระบบที่เลือกคือ ระบบของการสะกดคำ

โดยใช้หลักการคือ
จำนวนครั้งในการพับกระดาษ = จำนวนอักษรในคำนั้น
ความหมายของรูปกระดาษที่เสร็จ = ความหมายของคำ

จึงนำมาทำเป็นงาน ที่ใช้การสะกดคำมาเป็นตัวนำการพับไปทีละขั้นตอน เมื่อจบจะได้กระดาษตามความหมายของคำที่ใช้
เช่น glass จะ มีีการพับ 5 ขั้นตอนไล่ไปตามตัวอักษร

รวม link การพับกระดาษ

วันนี้อัพ link ต่างๆก่อน เดี๋ยวจะมาอธิบายงานใหม่อีกครั้ง แต่ต้องขอเวลาคนเขียนบล็อกรวมสติตัวเองก่อน เพราะว่าช่วงนี้เบลอมากมาย กำลังประสาทกะโรงพยาบาลประสาทอยู่ -*-

การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น
http://www.origami-club.com/en/
http://www.origami.com/
การพับกระดาษ vs คณิตศาสตร์
http://www.paperfolding.com/math/

เพิ่มเติม: เว็บรวมรูปแบบการพับ
http://comicalfamilytree.tripod.com/origami-diagrams-list.htm
http://del.icio.us/tag/origami

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

html graph

ไปเจอเว็บที่พอเราใส่ชื่อ url อะไรลงไปมันก็จะเป็นกราฟออกมาให้ดู อาจจะ link กับ system ที่เคยทำเป็นใยแมงมุมได้ แต่ของเค้าวิเคราะห์จากส่วนประกอบของเว็บที่เราใส่ชื่อไป แต่ของเรามั่วเอาเอง :b

ความหมายของแต่ละสีคือ
blue for links (the A tag)
red for tables (TABLE, TR and TD tags)
green for the DIV tag
violet for images (the IMG tag)
yellow for forms (FORM, INPUT, TEXTAREA, SELECT and OPTION tags)
orange for linebreaks and blockquotes (BR, P, and BLOCKQUOTE tags)
black the HTML tag, the root node
gray all other tags

อัันนี้เป็นของเว็บนี้


อันนี้เป็นของ hi5


ดูเหมือน hi5 จะยุ่งเหยิงกว่ากันเยอะเลย เกือบลืมบอก เว็บชื่อ
http://www.aharef.info/static/htmlgraph/

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

workshop : system

การทำ workshop เรื่อง system โดยมีอุปกรณืคือ หลอด เชือก หนังยาง


ในกลุ่มเลือกที่จะทำระบบของ " อินเตอร์เนต " ซึ่งเป็นระบบที่คุ้นเคยกันในแต่ละวัน จึงทำเป็นรูปร่างของใยแมงมุมที่เป็นเครือข่าย




หลอดสีฟ้าและเหลือง แทนการรับและส่งของสัญญาณที่ต้องเดินทางไปตามเครือข่าย และ เทปสีขาวที่ติด ก็เหมือนเว็บไซด์ต่างๆที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เนต




จากการทำ workshop ครั้งนี้ก็รู้จัก system มากขึ้นว่าอาจจะเป็น system ที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว หรืออาจเป็นการสร้่ง system ใหม่ก็ได้ ถ้าเรามอง system ในข้อกำหนดที่แตกต่างกัน เช่น system ของบางคนอาจเป็นสิ่งที่ต้องเชื่อต่อกันไปเรื่อยๆไม่รุ้จบ หรือ อาจเป้นระบบที่ต้องวนกลับมาสู่จุดเริ่มต้น แต่ถึงแม้ว่าจะสร้างะบบใหม่ๆเราก็ต้องมีข้อกำหนดบางอย่างอยู่ที่ยังอยู่ในความหมายของคำว่า system

10 rules of Simplicity

จิงจิงวันนี้ไม่มีอารายแต่เห็นบล์อกไม่อัพเดตมานานแล้ว
เพราะยังคิดงานไม่ค่อยออก แต่พอดีไปเจอคนแนะนำหนังสือเล่มหนึ่ง
ชื่อ simplicity ของ edward de bono สำนักพิมพ์ penguin books ปี 1999
ภายในเล่มจะมีกฏ 10 ข้อของ simplicity และหนังสือทั้งเล่มก็จะเกี่ยวข้องกับกฏเหล่านี้

1. you need to put a very high value on simplicity.
2. you must be determined to seek simplicity.
3. you need to understand the matter very well.
4. you need to design alternatives and possibilities.
5. you need to challenge and discard existing elements.
6. you need to be prepared to start over again.
7. you need to use concepts.
8. you may need to break things down into smaller units.
9. you need to be prepared to trade off other values for simplicity.
10. you need to know for whose sake the simplicity is being designed.

เดี๋ยววันพุธจะไป tcdc ถ่ายรูปมาให้ดู ว่าข้างในเป็นยังไง หวังว่า tcdc คงมีนะ :)

Blast Bakery : Favorite work



Blast Bakery >> ร้านเบเกอร์รี่สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย

logo จึงมาจากการรวมกันของรูปทรงขนมและคนมีกล้าม ซึ่งสามารถแสดงถึงเอกลักษณืของร้านได้

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550

Project 3: Symbol of BTS and MRT for Shopcaholic

ในเมืองไทยนั้น รถไฟใต้ดินมีการสร้างชุดสัญลักษณ์เพื่อใช้แทนสถานนีต่างๆ เช่น
สถานีหัวลำโพง : ตัดทอนจากหัวลำโพง
สถานีสามย่าน : ตัดทอนจากจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่บริเวณนั้น
สถานีสีลม : ตัดทอนจากรูปปั้นรัชกาลที 6 หน้าสวนลุมพินี
สถานีลุมพินี : ตัดทอนจากดอกบัวแสงถึงสวนลุมพินี
สถานีคลองเตย : ตัดทอนจากหลังคาพระตำหนักปลายเนิน
สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต
สถานีสุขุมวิท : ตัดทอนจากจั่วของสยามสมาคม
สถานีเพชรบุรี : ตัดทอนจากคลองแสนแสบที่อยู่ใกล้สถานี
สถานนีพระรามเก้า : ตัดทอนจากเลขเก้าไทย
โดยการเลือกใช้สีมาจาก "สีฟ้า" คือ สถานีเชื่อมต่อ
"สีแดง" คือ สถานีย่านการค้า
"สีขียว" คือ สถานีที่ใกล้สวน
"สีเหลือง" คือ สถานีที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์
"สีส้ม" คือ สถานีที่อยู่ในย่านชุมชน
"สีเทา" คือ ย่านใกล้เส้นทางเดินทางทางน้ำ
ในแต่ละประเทศจะมีการใช้สัญลักษณ์กับผู้โดยสารแตกต่างกันไป เช่น
New York เป็นการใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสี เป็นตัวสื่อสาร

ญี่ปุ่น ใช้ตัวอักษรตัวขึ้นต้น และ สีของสายการเดินรถ

concept : เป็นการสร้าง symbol ที่สามารถเข้าใจง่ายแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม โดยกลุ่มที่เลือกมาทำก็คือ " Shopcaholic หรือ สาวนักช้อป "



ตัวอย่างสัญลักษณ์สถานีต่างๆ

Project 2: Experimental : Subway Map

concept;หาความเป้นไปได้อื่นๆในการออกแบบแผนที่ สามารถสื่อสารกับคนจำนวนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้แผนที่ตามรูปแบบของ vignelli

การทดลองมีที่มากจากหลายที่ เช่น
*การลองเปลี่ยนสายเดินรถเป็ยสัญลักษณ์ที่สามารถรวมกันได้ในสถานนีเชื่อมต่อ
*การใช้เฉพาะเส้นโค้ง
*เปลี่ยนเส้นทางเดินตามรูปแบบหกเหลี่ยม เจ็ดเหลี่ยม และ แปดเหลี่ยม
*ตัดทอนจากแผนที่จริงของกรุงเทพมหานคร
*แบ่งตามชั้น ของกรุงเทพมหานคร
*แบ่งแผนที่เป็นสองฝั่ง โดยมีสายสีน้ำเงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างสองฝัง


รูปแบบที่นำมาพัฒนาคือรูปแบบวงกลม


มีที่มาจากการแบ่งกรุงเทพฯเป็นชั้นๆ ชั้นใน ชั้นกลาง และ ชั้นนอก


โดยเริ่มจากการใส่จุดตามวงกลมที่ซ้อนกัน ให้คล้ายจุดตามแผนที่จริงมากที่สุด




และทดลองใส่จุดแสดงสถานนีสองสี คือ สีขาวและดำ แต่สีที่ชัดเจนที่สุดคือสีขาว



แผนที่ที่มีการแสดงเฉพาะสถานีเชื่อมต่อสำคัญเท่านั้น


แผนที่ที่แสดงชื่อสถานีทั้งหมด