วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550

Project 3: Symbol of BTS and MRT for Shopcaholic

ในเมืองไทยนั้น รถไฟใต้ดินมีการสร้างชุดสัญลักษณ์เพื่อใช้แทนสถานนีต่างๆ เช่น
สถานีหัวลำโพง : ตัดทอนจากหัวลำโพง
สถานีสามย่าน : ตัดทอนจากจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่บริเวณนั้น
สถานีสีลม : ตัดทอนจากรูปปั้นรัชกาลที 6 หน้าสวนลุมพินี
สถานีลุมพินี : ตัดทอนจากดอกบัวแสงถึงสวนลุมพินี
สถานีคลองเตย : ตัดทอนจากหลังคาพระตำหนักปลายเนิน
สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต
สถานีสุขุมวิท : ตัดทอนจากจั่วของสยามสมาคม
สถานีเพชรบุรี : ตัดทอนจากคลองแสนแสบที่อยู่ใกล้สถานี
สถานนีพระรามเก้า : ตัดทอนจากเลขเก้าไทย
โดยการเลือกใช้สีมาจาก "สีฟ้า" คือ สถานีเชื่อมต่อ
"สีแดง" คือ สถานีย่านการค้า
"สีขียว" คือ สถานีที่ใกล้สวน
"สีเหลือง" คือ สถานีที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์
"สีส้ม" คือ สถานีที่อยู่ในย่านชุมชน
"สีเทา" คือ ย่านใกล้เส้นทางเดินทางทางน้ำ
ในแต่ละประเทศจะมีการใช้สัญลักษณ์กับผู้โดยสารแตกต่างกันไป เช่น
New York เป็นการใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสี เป็นตัวสื่อสาร

ญี่ปุ่น ใช้ตัวอักษรตัวขึ้นต้น และ สีของสายการเดินรถ

concept : เป็นการสร้าง symbol ที่สามารถเข้าใจง่ายแก่บุคคลเฉพาะกลุ่ม โดยกลุ่มที่เลือกมาทำก็คือ " Shopcaholic หรือ สาวนักช้อป "



ตัวอย่างสัญลักษณ์สถานีต่างๆ

Project 2: Experimental : Subway Map

concept;หาความเป้นไปได้อื่นๆในการออกแบบแผนที่ สามารถสื่อสารกับคนจำนวนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้แผนที่ตามรูปแบบของ vignelli

การทดลองมีที่มากจากหลายที่ เช่น
*การลองเปลี่ยนสายเดินรถเป็ยสัญลักษณ์ที่สามารถรวมกันได้ในสถานนีเชื่อมต่อ
*การใช้เฉพาะเส้นโค้ง
*เปลี่ยนเส้นทางเดินตามรูปแบบหกเหลี่ยม เจ็ดเหลี่ยม และ แปดเหลี่ยม
*ตัดทอนจากแผนที่จริงของกรุงเทพมหานคร
*แบ่งตามชั้น ของกรุงเทพมหานคร
*แบ่งแผนที่เป็นสองฝั่ง โดยมีสายสีน้ำเงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างสองฝัง


รูปแบบที่นำมาพัฒนาคือรูปแบบวงกลม


มีที่มาจากการแบ่งกรุงเทพฯเป็นชั้นๆ ชั้นใน ชั้นกลาง และ ชั้นนอก


โดยเริ่มจากการใส่จุดตามวงกลมที่ซ้อนกัน ให้คล้ายจุดตามแผนที่จริงมากที่สุด




และทดลองใส่จุดแสดงสถานนีสองสี คือ สีขาวและดำ แต่สีที่ชัดเจนที่สุดคือสีขาว



แผนที่ที่มีการแสดงเฉพาะสถานีเชื่อมต่อสำคัญเท่านั้น


แผนที่ที่แสดงชื่อสถานีทั้งหมด

Project 1: Grid System & Semiotics

การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean - Composition
การจัดองค์ประกอบยอดฮิตวิธีหนึ่งที่ตำราทั้งหลายแนะนำ ก็คือ การใช้จุดตัดเก้าช่อง (rule of third) ก็คือ การแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แล้ววางภาพตรงจุดตัดนั้นจริงๆ ก็คือ จะเป็นวางภาพในสัดส่วนสองจากสาม (2:3) จริง ๆ แล้ว rule of third นั้นก็เอามาจาก golden mean นั่นเองgolden mean คือ สัดส่วน (ratio) 1:1.6180339.. (ซึ่งเป็นตัวเลขมหัศจรรย์ ที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อน)และทุกวันนี้ถูกใช้ในทุก ๆ สิ่งรอบตัวเราโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เป็นอะไรที่สมองของมนุษย์ตอบสนองดีเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีการทดลองพบว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คนชอบมากที่สุดเป็นสัดส่วน 1:1.618

1.618 มาจากไหน? จากอนุกรม Fibonacci ( S[n] = S[n-1] + S[n-2] )0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,...เอา 3/2 = 1.55/3 = 1.667..55/34 = 1.617689/55 = 1.6182จากนั้น ค่าจะลู่เข้า ค่า ๆ หนึ่ง เรียกว่า Phi = 1.6180339... (เป็นอีกค่าคงที่ เหมือนค่า Pi และ e ที่เรารู้จัก)จะเห็นว่า 3:2 ก็อยู่ในอนุกรม Fibonacci เหมือนกันพอรู้จักค่า Phi แล้ว.. มาลองแบ่งตารางกันบ้างดีกว่า..จากรูป ขนาดสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน จะมีขนาดเท่ากับ 1:1.618 ของสี่เหลี่ยมใหญ่
Golden Section VS Rule of Thirdลองเทียบ 1.618:1 กับ 3:2 ใช้หลักการแบ่งเป็นสัดส่วนสี่เหลี่ยมคล้ายก็จะเป็นการเปลี่ยน


golden section เป็น rule of third
Golden Spiral โดยแบ่งภาพทีละ 1:1.618 ของด้านยาว แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง
มาเป็น Golden Triangle แบ่งเป็นสามเหลี่ยมคล้ายเท่าๆ กัน 3 อัน(สี่เหลี่ยมเป็น 3:2 ก็ใช้ Golden Triangle แบบ 3:2 ก็ถือว่าใกล้เคียง)



SEMIOTICS
semiotics แปล เป็นไทยว่า "สัญศาสตร์" คือ  ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของสัญลักษณ์และเครื่องหมายsemiotics มาจากภาษากรีกที่เป็นรากศ้พท์ของคำว่า Sign  โดยเริ่มต้นจากการศีกษาของนักภาษาศาสตร์ Ferdinand de Saussure & Charles  Sanders Peirce และอีกหลายๆคน ซื่งต่อมาก็มีการนำเอาหลักการมาประยุกต์ใช้ในงาน  Design รวมถีงงานแขนงอื่นๆด้วย


* icon เป็นเพียงการแทนที่ การตัดทอนลงมา R
* index เป็นภาพตัดทอนที่มีความหมายในตัวมันเอง R O
* Symbol เป้นภาพที่ตัดทอนแล้วนอกจากสื่อความหมาย ยังมีความสัมพันะ์กับผู้รับ


* R = การบอกความหมายของสิ่งที่แทนที่
* O = สิ่งของที่สัญลักษณ์ไปแทนที่
* I = ความเข้าใจของผุ้ใช้ต่อสัญลักษณ์



* Semantic = ศึกษาความหมายของ sign
* Syntactic = โครงสร้างความสัมพันธ์ของ Sign
* Pragmatic = ความสัมพันธ์ระหว่าง sign กับผู้ใช้


ตัวอย่างสัญลักษณ์ "ทางออก" 2 แบบ อันแรกที่สามารเข้าใจได้อย่างชัดเจน แต่ อีกอัน ต้องเคยผ่านการเรียนรู้มาก่อนว่าเป็นเครื่องหมายอะไร