วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

ทีสิสเสร็จแล้ววววว.....

ค้างไว้นานมาก มาแปะดีกว่า เผื่อมีใครเปิดมาเจอ

โครงการออกแบบหนังสือเพื่อทดสอบเบื้องต้นในอาการทางประสาทวิทยาในด้านการรับรู้

มนุษย์เรานั้นมีระบบประสาทและระบบสมองที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทำหน้าที่ในการรับรู้ควบคุมร่างกาย ในส่วนที่แตกต่างกันไป เมื่อเกิดความผิดพลาดในส่วนใดส่วนหนึ่ง ทั้งจากการประสบอุบัติเหตุหรือเป็นมาแต่กำเนิด จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายแตกต่างกันไป

โรคหรืออาการทางประสาทวิทยาในด้านการรับรู้ทางสายตานั้น เกิดจากสมองส่วนที่ควบคุม
การรับรู้ทางสายตาและการแปลความหมายเกิดความผิดปกติ จะทำให้การมองเห็นและการแปลความหมายของสิ่งที่มองเห็นเปลี่ยนแปลงไป

หนังสือที่ทำนี้จะเหมือนกับคนที่เป็นอาการเหล่านี้ คือดูเหมือนปกติเมื่อเห็นครั้งแรก แต่จริงๆแล้วซ่อนความปกติไว้ข้างใน หนังสือเล่มนี้จึงดูเป็นหนังสือปกติเมื่อเห็นครั้งแรก แต่เมื่อเปิดข้างในแล้วจะเจอความไม่ปกติ โดยแสดงผ่านหน้าหนังสือไม่เท่ากันในแต่ละบท รวมทั้งการทำแบบทดสอบและการจัดวางรูปเล่มตามลักษณะเฉพาะตัวในแต่ละโรค เช่น การทำแบบทดสอบและการจัดวางรูปเล่มตามลักษณะเฉพาะตัวในแต่ละโรค
เช่น
•Split Brain เป็นโรคที่สมองไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลซึ่งกันและกัน
•Synesthesia จะมีอาการรับรู้ที่ซ้อนกัน เช่น มองเห็นอักษรเป็นสี รูปทรงเป็นสี หนังสือออกมาแต่ละหน้าจะมีรูปทรง และสีตัวอักษรไม่เหมือนกัน
•Hemi Neglect ผู้ป่วยจะละทิ้งการรับรู้ด้านใดด้านหนึ่งจึงเหมือนหนังสือที่ถูกตัดตกไปด้านหนึ่ง
•Category-Specific Agnosia ผู้ป่วยจะไม่่สามารถจัดหมวดหมู่แยกแยะสิ่งของด้านใดด้านหนึ่ง



Split Brain
ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเหมือนสะพานเชื่อมสมอง 2 ฝั่งทำงานไม่ประสานกัน ทำให้ไม่สามารถเชื่อต่อข้อมูลกันได้ สามารถรับรู้ได้จากสมองเพียงซีกเดียว ผ่านสมองซีกซ้ายหรือขวา ถ้าเป็นด้านซ้ายจะไม่สามารถคำนวณ หรือรับรู้อะรใหม่ได้ แต่สามารถจิตนการได้ เช่น ถ้าเห็นภาพหัวใจอาจจะนึกถึงคนรัก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่านั้นคือรูปหัวใจ เพราะสมองซีกซ้ายใช้ในการคิด การวิเคราะห์ รวมทั้งการจดจำคำ หรืออักษร เมื่อสมองส่วนนั้นเสีย แต่การบอกถึงคนรักซึ่งใช้สมองซีกขวาในการจดจำความรู้สึกนี้

จึงใช้เรื่องของรูปร่างและคำ มาเป้นสิ่งที่ใช้สื่อในโรคนี้ เป็นการทำแบบทดสอบให้ตัวอีกษะและรูปร่างพื้นฐานนำมาผสมกัน เพราะในสมองซีกซ้ายจะรู้จักตัวอีกษรแต่ไม่รู้จักรูปร่าง เช่นเดียวกับสมองซีกขวาที่รู้จักรูปร่าง ไม่รู้จักอักษร เมื่อผู้มีอาการเห็นบดทดสอบ อาจตอบเพียงอักษร หรือ รูปร่างสัตว์




Synesthesia
ผู้ที่มีอาการนี้จะเหมือนสายไฟฟ้าที่พันกัน ทำให้การส่งผ่านข้อมูลสลับกันโดยมีหลายอาการ เช่น
•มองเห็นตัวอักษรบางตัว หรือคำบางคำเป็นสี หรือ รูปทรงที่แตกต่างกัน
•มองเห็นคนแต่ละคนเป็นสีที่แตกต่างกัน
•เกิดรูปทรงและสีที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเสียง เป็นต้น

หน้าหนังสือออกมาแต่ละหน้าจะมีรูปทรง และสีตัวอักษรไม่เหมือนกัน เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ผู้มีอาการนี้ได้พบเห็น
ส่วนการทดสอบนั้นก็ใช้ความพิเศษในการมองเห็นสี เช่น การหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ในกลุ่มอักษรสีดำ หรือ การซ่อนคำไว้ในกลุ่มอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน


Hemi Neglect
ผู้ป่วยจะไม่สนใจการกระทำใดใดต่อร่างกายอีกซีก ทั้งไม่สนใจรับรู้ในสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นกับร่างกายซีกนั้น เช่น ถ้าฉายภาพ 2 ภาพบนจอผู้ป่วยจะเห็นเพียงแค่ภาพด้านขวา การกินก็จะกินเพียงด้านขวา วาดภาพหรือเขียนหนังสือจะเขียนเพียงครึ่งขวาเท่านั้น

รูปเล่มหนังสือจึงทำออกมาครึ่งเดียว เพื่อสื่อถึงอาการของโรค รวมทั้งการทำแบบทดสอบที่เป็นการอ่านคำ และการวาดภาพรูปทรงสมมาตร



Category Specific Agnosia
เครือข่ายความจำในสมอง ซึ่งดูเหมือนจะแบ่งเก็บความรู้ไว้เป็นลิ้นชักๆ ตามคอนเซ็ปของแต่ละเรื่อง เวลาหายก็หายได้เป็นเรื่องๆ คนที่สมองบาดเจ็บได้รับผลกระทบเฉพาะตรงส่วนนี้ อาจจะยังแยกค้อนกับเลื่อยได้ปกติ ถ้าถามถึงเรื่องสัตว์อาจจะเกิดอาการเหมือนกับลืมไป ว่าเป็ดต่างกับแมวอย่างไรหรือ ปลาหน้าตาเป็นแบบไหน แต่การอ่าน เขียน จดจำชื่อของสัตว์นั้นยังปกติ

การทำบทนี้จึงจัดรูปเล่มให้ไม่มีระเบียบ สามารถมองทะลุไปได้ เหมือนสมองที่ดูเหมือนมีระเบียบ แต่จริงแล้วสับสน และการทดสอบก็เป็นการ์ดเงารูปร่างของสัตว์ และชื่อสัตว์อีกชนิด เพื่อให้ผู้ที่ป็นโรคนี้เลือกสัตว์จากรูปร่าง ไม่ใช่จากชื่อ


เดี๋ยวรอให้ได้รูปก่อน จะมาเล่าเรื่องเพะชะคุชะ ที่กลายเป็นพาพิรุณไปซะแล้ว อย่างเซง

2 ความคิดเห็น:

TYPOARTY กล่าวว่า...

ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ ชอบจังๆ concept แน่นมาก

Parumparar กล่าวว่า...

สวัสดีครับคือผมทำการออกแบบเรื่องเกี่ยวกับโรคทางสมองอยู่เหมือนกัน จึงอยากจะขอข้อมูลหน่อยนะครับ ถ้าเป็นไปได้
ช่วยส่งเข้าเมล snowman678@hotmail.com

ขอบคุณมากๆครับ